|
|
|
|
|
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (ด้านการขนส่ง) ของประเทศไทย |
|
hublot replica watches การแข่งขันในตลาดโลกนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ความรวดเร็ว และต้นทุนที่ถูกลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) การลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Value Added Cost) หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการจัดส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ที่เรียกว่า การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมตั้งแต่การบริหารการขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การบริหารคลังสินค้า การบริหารคำสั่งซื้อ การบริหารข้อมูล การบริหารการเงิน การจัดการวัตถุดิบ การจัดซื้อ การบรรจุ และการบริหารความต้องการ (อุปสงค์) เพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ไปถึงมือลูกค้าในเวลาที่ต้องการ บนพื้นฐานต้นทุนที่มีประสิทธิภาพที่สุด จึงเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆ ในโลกต่างให้ความสำคัญ ซึ่งได้มีการยืนยันจาก ผลการศึกษาของบริษัท Mckinsey & Co ในการศึกษาตลาดในประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเซีย พบว่า การปรับปรุงกระบวนการด้านศุลกากรและคุณภาพการขนส่งจะมีผลมากต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของ GDP โดยประมาณว่า สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียบางประเทศ จะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP ได้ถึงร้อยละ 1.5-2 ภายในปี พ.ศ. 2553 หากสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 15-20
ในกรณีของประเทศไทย คงต้องยอมรับว่านอกเหนือจากความจำเป็นที่ต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ในสถานการณ์การแข่งขันโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา ซึ่งย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่ออุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือ SME ในด้านการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต และด้านการขนส่ง ในส่วนของ SMEs ได้มีการสำรวจความคิดเห็นผลกระทบจากราคาน้ำมันในระหว่างปี 2547-2549 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่า
“ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงกับต้นทุนทางตรงในการผลิต การค้า การบริการ ในระดับที่สูงมากนัก หากแต่มีผลกระทบทางอ้อมในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของต้นทุนการขนส่ง ”
เมื่อปีที่แล้วมีผู้ออกมากล่าวว่า ระบบลอจิสติกส์ของไทยนั้นแพงเกือบจะที่สุดในโลก เมื่อเทียบสัดส่วนกับจีดีพีของประเทศ คือสูงเกือบร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ค่าใช้จ่าย ลอจิสติกส์ของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ประมาณร้อยละ 10 ใกล้เคียงกับของประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ประมาณร้อยละ 11 และประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปก็มีค่าลอจิสติกส์อยู่ในราวร้อยละ 7
ดังนั้น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SMEs อยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันและวิกฤตการณ์น้ำมันแพง ต้นทุนทางลอจิสติกส์ของไทยจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม เป็นระบบ และด้วยความรวดเร็ว มิฉะนั้น ไทยจะเสียเปรียบและเสียฐานในการแข่งขันในเวทีโลก
ปัจจุบัน การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรร่วมกันประชุมหารือประสานงานระดมสมองแก้ปัญหา เพื่อเปิดมิติใหม่ให้กับระบบโลจิสติกส์ของไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย พ.ศ. 2549-2553 ไว้ 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในภาคการผลิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเปิดเส้นทางการค้าและสร้างประสิทธิภาพสูงสุดของเครือข่ายโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับประสิทธิภาพกระบวนการอำนวยความสะดวกทางการค้า และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากำลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ได้พยายามที่จะผลักดันให้มีการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติ เมื่อต้นปี 2550 มีหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นองค์กรหลัก กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กรมศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย ( กทท .) รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือร่วมกันเพื่อทำให้ระบบโลจิสติกส์เป็นรูปธรรม อย่างเช่น การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขนส่ง Port-to-Door และ Door-to-Port การจัดทำข้อตกลงเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้า และการจัดทำข้อตกลงการนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับ ส่วนยุทธศาสตร์การขนส่งทางอากาศนั้นมี 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
1. Global Destination Network โดยขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่วโลก เป็นศูนย์ กลางโลจิสติกส์ของสินค้าของกลุ่มประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และเอเชียใต้
2. พัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็นประตูระดับโลก โดยพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นประตูสู่ประเทศต่างๆ ในโลก พร้อมทั้งพัฒนาสนามบินเชียงใหม่และภูเก็ตเป็นประตูสู่ภูมิภาค
3. เป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ของโลกด้านอาหาร ผัก ผลไม้สด ดอกไม้ แฟชั่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ และเครื่องประดับ
นอกจากการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการขนส่งตามที่กล่าวมาแล้ว กระทรวงคมนาคมยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาส่วนอื่นของระบบโลจิสติกส์ ได้แก่ การบริหารคลังสินค้า โดยดูว่าควรจะมีศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้าที่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าเพื่อส่งไปยังปลายทางได้อย่างไร แต่เดิมกระทรวงคมนาคมกำหนดไว้ว่าจะให้มีคลังสินค้า 4 มุมเมือง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ขณะนี้กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสมแล้วจะนำมาผสมผสานกับการขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เรือ มาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้สินค้าขนส่งได้เร็วที่สุดในราคาถูกที่สุด
การบริหารจัดการโลจิสติกส์จำเป็นต้องมีข้อมูลว่าสินค้าแต่ละประเภทเหมาะสมกับระบบขนส่งชนิดใด หากเป็นการขนส่งทางอากาศต้องเป็นสินค้าที่มีราคาแพง บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ต้องการความรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นสินค้าเทกอง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรต่างๆ ก็ต้องขนส่งทางเรือ การบริหารจัดการเพื่อความรวดเร็วนั้นสำคัญ แต่ว่าการขนส่งให้ต้นทุนถูกก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งคงต้องดำเนินการควบคู่กับมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดี เพราะโลจิสติกส์คือการควบคุมทุกอย่างเพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ไปถึงมือลูกค้าในเวลาที่ต้องการ
กระทรวงคมนาคมได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไว้ทั้งทางภาคพื้น และทางอากาศ โดยในทางภาคพื้นนั้น มี 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
1. พัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตูสู่ภูมิภาค โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร . ฟ . ท .) จะ ต้องขยายขีดความสามารถของสถานะบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ( ไอซีดี ) ให้มากขึ้น ขณะที่องค์กรขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ ( ร . ส . พ .) ต้องตั้งสถานีบรรจุและขนถ่ายตู้สินค้า เพื่อการนำเข้าและส่งออกย่านพหลโยธิน ส่วนการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ก.ท.ท .) ก็ต้องปรับปรุงท่าเทียบเรือให้รองรับเรือ Roll on-Roll off ระหว่างประเทศได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาท่าเทียบเรือภูมิภาคให้เข็มแข็งมากขึ้น
2. พัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าให้เป็น Hub ประจำภาค เพื่อประสานระบบขนส่งให้สมบูรณ์ โดยมีโครงการที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคสำหรับขนส่งไปยังประเทศปลายทางต่างๆ
3. พัฒนาวิธีการขนส่งไปสู่ระบบราง ทางน้ำ และทางท่อ เพื่อให้การขนส่งมีปริมาณมากขึ้น แต่สามารถลดต้นทุนการขนส่ง และประหยัดพลังงาน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข .) ได้เริ่มศึกษา เพื่อพัฒนาระบบราง น้ำ และท่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันแล้ว ส่วน ร . ฟ . ท . นั้น ก็ต้องเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ในช่วงชุมทางเส้นทางขนส่งสินค้ามายังท่าเรือแหลมฉบังให้มากขึ้น ด้านบริษัทไทยเดินเรือ จำกัด (บทด .) ต้องเร่งส่งเสริมใช้เรือ Roll on-Roll off ให้มากขึ้นเช่นกัน
4. พัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ สำหรับระบบการขนส่งทางภาคพื้นเพื่อให้บริการแบบ Door-to-Door ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติขึ้นมาแล้ว สำหรับเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีขั้นตอนมากๆ ให้น้อยลง โดยมีการนำระบบ IT เข้ามาใช้มากขึ้น
สำหรับการขนส่ง “ คน ” โดยเฉพาะระบบรางมีเพียง 42 กิโลเมตรเท่านั้น โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะก่อสร้างการขนส่งด้วยระบบรางให้ครบระยะทาง 200 กิโลเมตรภายใน 6 ปี โดยมีวงเงินลงทุน 400,000 ล้านบาท การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยจะก้าวหน้าไกลเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาล หรือกระทรวงคมนาคมเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวแปรของต้นทุนในการขนส่งระบบการจัดเก็บ และคลังสินค้าที่กลายเป็นอุปสรรคของการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ตามแนวทางขั้นต้นก็ตาม ในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ก็ยังได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เพราะต้นทุนการขนส่งสินค้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีสูงกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ วิสาหกิจขนาดใหญ่มีศักยภาพในการขนส่งสามารถขนส่งได้เป็นจำนวนมาก ๆ ประหยัดต้นทุนได้ ในขณะที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องขนส่งคละรวมกับผู้อื่น ทำให้ต้นทุนสูงกว่า และเสียเวลามากกว่า โดยในเรื่องนี้รัฐบาลควรจะมอบหมายให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยบริหารจัดการ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ประโยชน์เต็มที่จากแนวคิดในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย Corum replica watches
* ( ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม)
|
|
<< ย้อนกลับ >> |
|
|
|
|
|