พร้อมเจรจาผู้บริหารโครงการขนาดใหญ่ คุนหมิง อินเตอร์เนชั่นแนล แลนด์ พอร์ต ขอพื้นที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยลุยเจาะตลาดจีน และอีก 3 ภูมิภาคใหญ่ วอนรัฐบาลช่วยสนับสนุนดันไทยศูนย์กลางกระจายสินค้าโลก replica watches
นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ อี บี ซี ไอ บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการบริหารงานโลจิสติกส์ พิธีการศุลกากร สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร การค้าระหว่างประเทศ และการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 บริษัทได้มีการลงนามความร่วมมือ(เอ็มโอยู)กับบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์(แอลเอสพี)ชั้นนำของเมืองไทยรวม 6 บริษัท เพื่อผนึกเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในการสร้างเครือข่ายการให้บริการด้านโลจิสติกส์เพื่อรับมือกับการค้าระหว่างประเทศของไทยที่จะขยายตัวมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)ของ 10 ชาติ สมาชิกในปี 2558 จากเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)อาเซียน-จีนที่ภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันโดยส่วนใหญ่ได้ลดลงเป็น 0% แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(จีเอ็มเอส) ซึ่งประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ (ยูนนาน)
สำหรับ 6 บริษัทที่บริษัทได้ลงนามเพื่อผนึกเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ประกอบด้วย บริษัท บี พี เอ็น เทรดดิ้ง จำกัด(บจก.) ซึ่งมีเครือข่ายการให้บริการขนส่งสินค้า ในเขตการค้าชายแดนด้านภาคเหนือ(อ.เชียงแสน จ.เชียงราย) บจก.เบทเทอร์ ซิสเท็ม เครือข่ายให้บริการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้าน สปป.ลาวเหนือ ห้างหุ้นส่วน จำกัด อินโดจีน ชิปปิ้ง เซอร์วิส ศูนย์กลางการค้าชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้าน สปป.ลาวใต้ ห้างหุ้นส่วนจำหัด ศุภสิน อิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต ศูนย์กลางการค้าชายแดนภาคใต้(มาเลเซีย/สิงคโปร์) บจก. แคน หยง ศูนย์กลางการค้าชายแดนภาคตะวันตก(พม่า) และบจก. ยูเนี่ยนเฟรท ฟอร์เวิดเดอร์ ศูนย์กลางการให้บริการด้าน Freight (การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ)
"ความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือครั้งแรกของบริษัทคนไทย เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างศักยภาพในการแข่งขันการให้บริการด้านโลจิสติกส์ส่งออก-นำเข้าสินค้าไทย และสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านกระจายไปยังจุดต่างๆ โดยใช้ศักยภาพและความชำนาญงานทางด้านเครือของแต่ละบริษัทมารวมพลังกันให้เกิดความแข็งแกร่ง เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการให้บริการทั้งในกรอบเออีซี ,จีเอ็มเอส รวมทั้งเอฟทีเออาเซียน-จีน ซึ่งจากนี้ไปจะมีบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นบริษัทข้ามชาติเข้ามาแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น"
นายสายัณห์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังมีแผนเจรจากับนายจาง เจิ้น ฮุย กรรมการบริหารบริษัท เจิ้น ฮุย โลจิสติกส์ จำกัด จากนครคุนหมิงของจีน ซึ่งเป็นกรรมการในการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สมัยใหม่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ของจีน (2011-2015) โดยตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีนส่วนหนึ่งจะมีการดำเนินโครงการคุนหมิง อินเตอร์เนชั่นแนล แลนด์ พอร์ต เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์แผ่ไปยังภาคตะวันตกของจีนและเชื่อมโยงกับเอเชีย โดยภายในโครงการส่วนหนึ่งได้มีการจัดตั้งศูนย์การค้านานาชาติขนาดใหญ่งบลงทุนกว่า 58,000 ล้านหยวน ซึ่งการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปีนี้
ทั้งนี้ทางอี บี ซี ไอมีแผนเจรจากันพันธมิตรจากจีนเพื่อขอเช่าพื้นที่ราคาพิเศษเพื่อใช้เป็นศูนย์จัดเก็บและกระจายสินค้าไทยส่งต่อไปยังเมืองต่างๆ ของจีน รวมถึงส่งจำหน่ายไปยังอีก 3 ภูมิภาคใหญ่ ประกอบด้วย เอเชียใต้(อินเดีย ปากีสถาน และอื่นๆ ) ตะวันออกกลาง และยุโรป
"ไทยมีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการกระจายสินค้าของอาเซียนเพราะมีถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชื่อมต่อกับอาเซียนมากกว่า 20 เส้นทาง แต่ทั้งนี้ยังต้องได้รับสนับสนุนจากรัฐบาลในหลายเรื่อง เช่น การสนับสนุนน้ำมันดีเซลราคาถูกเช่นเดียวกับชาวประมง หรือการจัดให้มีสถานีจำหน่ายเอ็นจีวีให้มากพอและทั่วถึง การประสานกับเพื่อนบ้านให้ปรับมาตรฐานพิธีการศุลกากร การช่วยลดค่าใช้จ่ายค่ามัดจำตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น"