|
|
|
|
|
ชง 6 ยุทธศาสตร์ใหม่โลจิสติคส์ |
|
ส.อ.ท.ชี้นโยบายโลจิสติกส์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังย่ำอยู่กับที่ ติดกับดักการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่แผนพัฒนาโลจิสติกส์ก่อนหน้ายังไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ ล่าสุดเอกชนชงสภาพัฒน์ พิจารณาแผนยุทธศาสตร์ปี 2555-2559 แล้ว พร้อมเสนอตั้งสำนักแผนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์แห่งชาติ นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงนโยบายด้านโลจิสติกส์ของรัฐบาลใหม่ ว่ายังไม่ใช่นโยบายเชิงรุก เนื่องจากส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่ง เช่น รถไฟฟ้า ระบบราง การขนส่งทางน้ำและทางอากาศ แต่ยังไม่ได้มีการลงลึกว่าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทั้งระบบของประเทศว่าจะเป็นไปในทิศทางใด สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจถึงการพัฒนาโลจิสติกส์ของภาครัฐ ซึ่งเน้นแต่เพียงโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติด้วย "ประเทศไทยควรข้ามพ้นระดับโจทย์เดิมที่มุ่งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งได้แล้ว แต่ควรยกระดับไปสู่การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการค้า คือให้ความสำคัญกับการวางระบบโลจิสติกส์โดยรวม มีการบูรณาการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางบก ทางราง และทางน้ำ ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ ข้อบังคับ ของหน่วยงานราชการที่เป็นอุปสรรค เป็นต้น" audemars piguet replica watches นอกจากนี้นายธนิต ยังกล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์แห่งชาติปี 2550 - 2554 ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ต้องยอมรับว่ายังไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้น ส.อ.ท. จึงมีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ให้มีการกำหนดกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์แห่งชาติปี 2555 - 2559 ขึ้น โดยควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมในบางยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมตามช่วงเวลาและสถานการณ์ในปัจจุบัน พร้อมกับเสนอให้มีการตั้งสำนักแผนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์แห่งชาติเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ทั้งนี้ร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์แห่งชาติปี 2555 - 2559 ที่ ส.อ.ท. เสนอต่อ สศช. ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ด้านหลัก คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคการผลิต ที่จะต้องกำหนดแนวทางการพัฒนาในแต่ละคลัสเตอร์ แต่ละอุตสาหกรรม โดยต้องกำหนดเป็นเชิงพื้นที่ (Area Base) และเชิงรายสินค้า (Product Base) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคการเกษตร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการปรับเปลี่ยนการขนส่งสินค้าไปสู่ระบบรางและทางน้ำ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ ควรมีการปรับเปลี่ยนให้ครอบคลุมเชิงธุรกิจมหภาคทั้งระบบโดยยกระดับให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์การค้า (Trade Logistics) โดยจะต้องกำหนดเส้นทางที่มีความประหยัดและมีประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าภายในประเทศเชื่อมโยงจังหวัดต่างๆ รวมถึงเส้นทางส่งออกสินค้าไทยไปยังท่าเรือต่างๆ ที่สำคัญตามภูมิภาคสำคัญของโลก รวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจบริการโลจิสติกส์ของคนไทย ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งเชิงรุกและเชิงรับต่อการเปิดเสรีภาคบริการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนยังต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเชื่อมโยงโลจิสติกส์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมุ่งเน้นแผนการใช้ประโยชน์เส้นทางเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านทั้งเส้นทางที่มีอยู่ในปัจจุบันและเส้นทางที่จะมีการพัฒนาในอนาคต ตามแผนงานของคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) และต้องกำหนดจุดเปิดด่านถาวรและกำหนดสินค้าที่จะเป็นโปรดักต์แชมเปี้ยน นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์นี้ควรครอบคลุมเชื่อมโยงถึงยุทธศาสตร์การค้าชายแดน เพื่อให้มีการบูรณาการหน่วยงานที่กำกับดูแลงานการค้าชายแดนเข้าไว้ด้วยกัน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาโครงข่ายข้อมูลสารสนเทศโลจิสติกส์ เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความจำเป็นและต้องการให้เกิดการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์และการนำเข้า-ส่งออก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายด้านสารสนเทศโลจิสติกส์ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที มีบทบาทน้อยมากกับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ และสุดท้าย สุดท้ายยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ ควรมีการพัฒนาต่อยอดในเชิงคุณภาพของการผลิตนักศึกษา รวมถึงระบบการปรับคุณวุฒิวิชาชีพและนำยุทธศาสตร์นี้ไปสู่กระบวนการในการผลิตกำลังคนด้านโลจิสติกส์ ให้ตรงกับความต้องการและสอดคล้องต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า
แหล่งที่มา:ฐานเศรษฐกิจ Best Replica Watches
|
|
<< ย้อนกลับ >> |
|
|
|
|
|