|
|
|
|
|
กูเกิลปรับโมเดลธุรกิจช๊อปปิ้ง |
|
กูเกิลยกเครื่องบริการค้นหาผลิตภัณฑ์ โดยจะเริ่มเก็บเงินจากร้านค้าปลีกที่นำสินค้ามาโพสต์บนเว็บไซต์ด้วยระบบประมูลราคา พร้อมเปลี่ยนชื่อบริการเป็น "กูเกิล ช็อปปิ้ง" นายซาเมียร์ ซามัต รองประธานฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ของกูเกิล ช็อปปิ้ง เปิดเผยว่า กูเกิลจะเริ่มเปลี่ยนบริการ "กูเกิล โพรดักต์ เสิร์ช" (Google Product Search) ให้เป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์โดยสมบูรณ์แบบ โดยจะเริ่มจากในสหรัฐอเมริกาก่อน "การทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ค้ามีอำนาจในการควบคุมผลิตภัณฑ์ของตนเองที่ปรากฏบนเว็บไซต์กูเกิลช็อปปิ้งได้มากขึ้น" นายซามัตกล่าว กูเกิลให้บริการธุรกิจค้นหาผลิตภัณฑ์มาเป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว โดยที่ผ่านมากูเกิลเปิดโอกาสให้เจ้าของสินค้านำสินค้าของตนเองมาโพสต์บนเว็บไซต์ได้ฟรี กูเกิลจะทำการจัดอันดับสินค้าที่มีอยู่ตามราคาและความนิยม และทำรายได้จากการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่จ่ายเงินให้กับบริษัทไปพร้อมๆ กัน แต่นับจากนี้กูเกิลจะจัดอันดับสินค้าตามมูลค่าที่เจ้าของสินค้าหรือผู้โฆษณาจ่าย เอริค เบสต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมอร์เซนต์ คอร์ป บริษัทที่ช่วยผู้ค้าปลีกขายและทำการตลาดผลิตภัณฑ์ผ่านกูเกิลและเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซอื่นๆ กล่าวว่า การตัดสินใจในครั้งนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในการทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของกูเกิล เบสต์ประเมินว่ากูเกิลทำเงินได้จากโฆษณาบนเว็บไซต์ช็อปปิ้งประมาณปีละ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากการเปลี่ยนรูปแบบในสหรัฐฯ เริ่มต้นในเดือนตุลาคม แม้ว่ากูเกิลจะครองอันดับหนึ่งในบริการเสิร์ชเอนจิน แต่สำหรับการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าแล้ว กูเกิลยังตามหลังอเมซอน ดอต คอม และอีเบย์ อิงค์ อยู่มาก ข้อมูลจากบริษัทวิจัยคอมสกอร์ระบุว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสหรัฐฯ ใช้บริการเว็บไซต์ค้นหาสินค้าของกูเกิลในการค้นประมาณ 80 ล้านครั้ง ขณะที่อีเบย์ถูกใช้ค้นหาสินค้า 900 ล้านครั้ง และเว็บไซต์อเมซอน 335 ล้านครั้ง กูเกิลพยายามทำเว็บไซต์ช็อปปิ้งของตนเองเพื่อไล่ตามคู่แข่ง แต่ข้อมูลจากคอมสกอร์ชี้ว่า บริการของกูเกิลไม่มีการเติบโตในแง่ของการใช้งาน ขณะที่คู่แข่งมีผู้เข้ามาใช้งานจำนวนมากขึ้น แหล่งข่าวใกล้ชิดกับกูเกิลกล่าวว่า นอกจากนี้กูเกิลยังพยายามดำเนินกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อแข่งขันกับอเมซอน อาทิ ร่วมมือกับผู้ค้าปลีกพัฒนาบริการให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และรับสินค้าได้ภายในหนึ่งวัน เป็นต้น เบสต์มองว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะมีทั้งผลดีและผลเสียต่อผู้ค้าปลีก "ข้อเสียคือ ผู้ค้าจะต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในแง่ของจำนวนการเข้าใช้งาน (traffic) อี-คอมเมิร์ซและรายได้ผ่านกูเกิล" เบสต์กล่าว พร้อมกับเสิรมว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจก่อให้เกิดข้อถกเถียงในวงการอินเตอร์เน็ต เพราะแต่เดิมผลการเสิร์ชของกูเกิลจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงิน ส่วนข้อดี เบสต์กล่าวว่า กูเกิลช็อปปิ้งรูปแบบใหม่จะช่วยผู้ค้าปลีกทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ระบบเก่าสร้างความลำบากให้กูเกิลในการตรวจสอบและควบคุมดูแล เนื่องจากผู้ค้าสามารถนำสินค้าตนเองขึ้นโพสต์บนเว็บไซต์ได้ฟรี ถ้าผู้ค้าต้องจ่ายเงินก็อาจจะช่วยให้ความแออัดของสินค้าลดลง สก็อต วิงโก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแชนแนลแอดไวเซอร์ อีกหนึ่งผู้ให้บริการช่วยเหลือผู้ค้าปลีกขายสินค้าออนไลน์ กล่าวว่า อเมซอนและอีเบย์น่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของกูเกิล เพราะเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ทั้งสองได้รับ traffic ฟรีจำนวนมากจากกูเกิล โพรดักต์ เสิร์ช ซึ่งต่อไปทั้งสองเว็บไซต์จะต้องจ่ายเงิน ด้านโรเบิร์ต แชตวานี ประธานฝ่ายการตลาดอินเตอร์เน็ตของอีเบย์ กล่าวว่า อีเบย์จ่ายเงินเพื่อโฆษณาบนเว็บไซต์ช็อปปิ้งของกูเกิลมานานแล้ว และมีแผนที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มตัวภายใต้ระบบใหม่ของกูเกิลช็อปปิ้งเพื่อเป็นตัวแทนโฆษณาให้กับผู้ค้าที่มาใช้บริการเว็บไซต์ของอีเบย์ ขณะที่ตัวแทนจากอเมซอนปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว
แหล่งที่มา:จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,746 7-9 มิถุนายน พ.ศ. 2555 best replica watches
replica watches
replicatime.me
|
|
<< ย้อนกลับ >> |
|
|
|
|
|