เกี่ยวกับ ขนส่ง

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  

ราคาน้ำมัน  

หาระยะทาง  

ท่าเรือแหลมฉบัง  
อื่นๆ

กรมศุลกากร  

หนังสือพิมพ์  

ดูดวง  
 
 
อีก 5 ปี ไทยจะผลิตรถกว่า 3ล้านคัน






หากจะเอ่ยถึงชื่อของหญิงเก่งของวงการยานยนต์ แน่นอนว่าจะต้องมีชื่อของเพียงใจ แก้วสุวรรณ ผู้จัดการใหญ่ รัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดเข้ามาด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะดำรงตำแหน่งในบริษัทยานยนต์ชั้นนำแล้ว อีกตำแหน่งที่ผู้หญิงเก่งคนนี้กุมบังเหียนอยู่ก็คือ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งในปีนี้ถือเป็นวาระที่ 2 แล้วที่ได้รับการไว้วางใจจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งต่อไป ซึ่งแนวทางและบทบาทหน้าที่ของสมาคมจะขับเคลื่อนไปในทิศทางไหนนั้น วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"มีคำตอบมาให้ 
-บทบาทหน้าที่ของนายกสมาคม
  หน้าที่ของคนที่เข้ามาเป็นนายกสมาคม แน่นอนว่าทุกคนที่เข้ามาอยู่ตรงนี้มีหมวก 2 ใบ ใบแรกคือการทำหน้าที่ในองค์กรธุรกิจของตนเอง และใบที่ 2 คือการเป็นตัวแทนของสมาคม ซึ่งในฐานะที่เข้ามารับหน้าที่เป็นนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นวาระที่ 2 สิ่งที่ยังคงยึดมั่นตลอดก็คือ ความเป็นมิตร ,ความเป็นกลาง โปร่งใส ชัดเจน หน้าที่ต่อไปคือการสร้างความสามัคคี สมานฉันท์ในสมาคม และพยายามให้ภาครัฐมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ไปในทิศทางเดียวกัน 
-แผนงานต่อไปของสมาคม
  เราต้องการให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีศักยภาพที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะสามารถสู้กับการแข่งขันในระดับโลกได้ กล่าวคือต้องทำอย่างไรให้นโยบายรัฐบาลสนับสนุนและสอดคล้องไปกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้เป็นรูปธรรม เนื่องจากบางทีกฎหมายต่างๆ-กฎระเบียบ ก็ต้องกลับไปดูและทบทวนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคที่จะขัดขวางนโยบายที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตได้ ส่วนโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 3 ของไทยนั้น ตอนนี้สถาบันยานยนต์กำลังจัดทำแม่บท และมีการเชิญตัวแทนจากบริษัทรถยนต์เพื่อระดมสมองและให้แนวทาง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลดังกล่าวมานำเสนอกับกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะนำไปสร้างเป็นนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตต่อไป 
     ส่วนแนวโน้มว่าโปรดักต์ แชมเปี้ยนตัวที่ 3 จะเป็นอะไรนั้น ก็ต้องคอยดู ซึ่งในช่วงก่อนหน้านั้นก็จะได้เห็นนายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทผู้ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงการพูดคุยและขอความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และภายในงานก็มีการพูดคุยกับบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งหากเข้ามาจริง ประเทศไทยก็มีโอกาสทำรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามตรงจุดนี้ก็ต้องดูว่า บีโอไอจะมีการเปิดโอกาสหรือให้ข้อเสนออะไรที่จะชักจูงใจนักลงทุนที่จะเข้ามา โดยคาดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องเห็นภายใน 5 ปีต่อจากนี้
     ในส่วนของตนเองซึ่งอยู่ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ก็มีการบอกกล่าวถึงเทคโนโลยีต่างๆว่าเป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง รวมไปถึงการนำเสนอความสำคัญของโปรดักต์แชมเปี้ยนที่ประเทศไทยได้ทำมา นับตั้งแต่รถปิกอัพ เรื่อยมาจนถึงรถอีโคคาร์ ซึ่งถือว่าไทยเดินมาถูกทางแล้ว และหากจะก้าวเข้าสู่การเป็นฮับของอุตสาหกรรมยานยนต์ตามที่ได้วางเป้าหมายไว้ โปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 3 จะต้องมีออกมา
-เป้าหมายในอนาคต
 ส่วนเป้าหมายยอดผลิตรถยนต์ในไทยนั้น โดยตามปกติแล้วการวางแผนงานจะวางไว้ทุก 5 ปีจะมียอดการผลิต 1 ล้านคัน ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีมากกว่า 2 ล้านคัน และในอีก 5 ปีข้างหน้าหรือในปี 2017 จะมียอดผลิตกว่า 3 ล้านคัน ดังนั้นตามเป้าหมายที่วางไว้จะมีส่วนประกอบหลักที่ช่วยผลักดันคือ แรงงานฝีมือ ตรงจุดนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ หากประเทศไทยจะเติบโตต้องมีการสนับสนุนฝีมือแรงงานค่อนข้างสูง ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันของแรงงานในตอนนี้ถือว่าขาดแคลน  และมีแรงงานในระดับวิชาชีพลดน้อยลง โดยภาครัฐจะต้องคำนึงถึงและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอุปกรณ์สาธารณูปโภคต่างๆและมีการกำหนดเป้าหมายให้ด้วย
-ความพร้อมในการแข่งขัน
    ขณะที่เออีซี หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น ต้องบอกว่าประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน และเราจะเห็นว่ามีหลายประเทศพยายามเลียนแบบประเทศไทย ดังนั้นสิ่งสำคัญในตอนนี้คือไทยจะต้องรักษาความได้เปรียบตรงนี้ไว้ โดยปัจจุบันไทยมีความแข็งแกร่งด้านผู้ผลิตชิ้นส่วน รวมไปถึงการเป็นฐานในการผลิตรถยนต์ ซึ่งเรามองว่าเออีซีจะส่งผลดีกับไทยมากกว่าผลเสีย อย่างไรก็ตามก็มิได้ประมาทแต่อย่างไร เนื่องจากตระหนักว่าเทคโนโลยีในยานยนต์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ต้องมีการปรับตัวและพัฒนาตามไปด้วย
 -ความกังวลเรื่องการย้ายฐานการผลิต
 ในช่วงที่ผ่านมามีค่ายรถยนต์เข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียกันหลายบริษัท ตรงจุดนี้เรามองว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตมาก ดังจะเห็นจาก Replica Rolex Datejust watches จีน ,อินเดีย และญี่ปุ่น ที่มีทิศทางการเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ยุโรป,อเมริกา นั้นกำลังมีปัญหา ดังนั้นตลาดในภูมิภาคเอเชียจึงเป็นเป้าหมายใหม่และทำให้มีการลงทุนเพิ่มเติมมากขึ้น  ส่วนการลงทุนของค่ายรถในอินโดนีเซียนั้น ก่อนอื่นต้องดูว่าประชากรเขามีเท่าไร เรามีเท่าไร โดยไทยมีประมาณ 67 ล้านคน ขณะที่อินโดนีเซียมีประมาณ 200 ล้านคน ตรงนี้มันมีความแตกต่างกันมาก ประกอบกับในปีที่ผ่านมาความต้องการรถยนต์ในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ยอดขายขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ค่ายรถจะเข้าไปลงทุนเพิ่มเพื่อผลิตรถป้อนตลาดในประเทศนั้นๆ
-วิเคราะห์ภาพรวมปี 2556
  อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเติบโตมาก โดยเฉพาะครึ่งปีหลังที่เป็นช่วงการขาย ประกอบกับความพร้อมของผู้ผลิตรถยนต์ในตอนนี้เริ่มกลับมาฟื้นฟู 100% ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าจะทำอย่างไรที่จะผลิตรถยนต์ออกมาให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ตัวเลขการผลิตจะปรับตัวมากกว่า 2 ล้านคันอย่างแน่นอน ด้านยอดขายในประเทศจะมีมากกว่า 1.1-1.2 ล้านคัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก  ขณะที่แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2556 นั้น ตามปกติการเติบโตแต่ละปีอย่างน้อยจะอยู่ที่ 10% โดยคาดว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะมีรถรุ่นใหม่ๆออกมาเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้วก็อาจจะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใหม่ๆเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตจากเกาหลีก็ให้ความสนใจบ้านเราพอสมควร ซึ่งหากมีผู้ผลิตเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เนื่องจากผู้บริโภคจะมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น และแม้ว่าจะมีคู่แข่งขันใหม่เข้ามาในตลาด แต่โดยรวมถือว่ามาช่วยกันทำให้ตลาดไทยเติบโตในอนาคต 
-สิ่งที่ต้องการจะฝากฝัง
 ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบไปด้วยผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีศักยภาพ อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนกันเองได้ โดยเราต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง Replica Rolex Daytona watches รวมไปถึงความชัดเจนในเรื่องต่างๆเพราะมิฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นอุปสรรคที่เข้าไปขัดขวางการเติบโตของอุตสาหกรรม


แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ












<< ย้อนกลับ >>
 

 
         
  © 2009 Patarapong Logistics Co., Ltd. All Rights Reserved. HomelServices & SafetylActivitieslNewslContact Us Created & Powered by FOD Team.