เกี่ยวกับ ขนส่ง

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  

ราคาน้ำมัน  

หาระยะทาง  

ท่าเรือแหลมฉบัง  
อื่นๆ

กรมศุลกากร  

หนังสือพิมพ์  

ดูดวง  
 
 
ดันโรงไฟฟ้า วาระแห่งชาติ กฟผ.ชี้ถ่านหินลดภาระคนไทย


www.kuvarsitwatch.cz

“อย่าปล่อยให้ กฟผ. เดียวดายเหมือนปัจจุบัน” คำพูดของ “พงษ์ดิษฐ  พจนา” ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าของญี่ปุ่น 3 โรง ระหว่างวันที่ 6-12 ส.ค.ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาพลังงานไฟฟ้าในไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ “ตัดสินใจ” ของรัฐบาลที่เลือก “ก๊าซธรรมชาติ” เป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

เพราะจากแผนพัฒนาผลิตกำลังไฟฟ้า ล่าสุดที่ปรับปรุงใหม่เป็นครั้งที่ 3 (55-73) ได้กำหนดสัดส่วนพลังงานผลิตไฟฟ้าไว้ชัดเจนว่า ต้องมาจากก๊าซธรรมชาติสูงที่สุด 58%  รองลงมาพลังงานหมุนเวียน 18%  ถ่านหินนำเข้า 12%  ถ่านลิกไนต์ 7% และนิวเคลียร์ 5% โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่เป็น 55,065 เมกะวัตต์

การตัดสินใจครั้งนี้อาจนำไปสู่ความเสี่ยงครั้งสำคัญ ทั้งเรื่องความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น เพราะในอีก 10-15 ปีข้างหน้า แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังจะหมดไป ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของคนไทยกลับเพิ่มขึ้นทุกปีและจะทะยานถึง 60,000 เมกะวัตต์ ในปี 73 จากที่ใช้อยู่ราว  30,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ยังมีโรงไฟฟ้าอีกหลายโรงที่ต้องปลดออกจากระบบเพราะเสื่อมสภาพ หากไม่มีโรงไฟฟ้าเพิ่มในปี 57 อาจเกิดปัญหาไฟฟ้าดับเป็นโซน ๆ ก็เป็นได้

ด้วยข้อจำกัดเช่นนี้ ทำให้ไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องพึ่งพิงพลังงานจากเพื่อนบ้านหรือยืมจมูกคนอื่นหายใจ ที่สำคัญ “ค่าไฟฟ้า” ย่อมแพงขึ้นแน่ เพราะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศที่นับวันมีแต่ราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ แถมมีปริมาณสำรองเหลือแค่ 60-70 ปี

ขณะที่ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” และ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ที่ถือเป็นทางเลือกสำคัญเพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่ามาก กลับถูกกระแสสังคมต่อต้านอย่างหนักมาโดยตลอด แม้ว่าโรงไฟฟ้าทั้ง 2 ประเภทจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปมากแล้ว โดยเฉพาะ “นิวเคลียร์” ที่ต้นทุนถูกที่สุดหน่วยละ 2.30 บาทและไม่ก่อให้เกิดมลพิษนั้น “ลืมไปได้เลย” เพราะกระแสสังคมไทยไม่ยอมรับ ยิ่งเกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา-ไดอิจิ ของญี่ปุ่นระเบิดด้วยแล้ว เรียกว่าตอกฝาโลงกันไปเลยก็ได้

ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่แม้ว่ามีต้นทุนต่อหน่วยเพียง 2.36 บาทและมีปริมาณสำรองที่ใช้ได้มากถึง 200 ปี ก็ยังมีความฝังใจจากปัญหา “ฝนเหลือง” ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่เกิดมลพิษจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชาวบ้านเป็นโรคผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ ในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน แม้แก้ไขโดยติดตั้งเครื่องดักจับสารซัลเฟอร์ฯหรือเอฟจีดี ตั้งแต่ปี 41  และมีหลักฐานเชิงวิชาการที่พิสูจน์ได้ว่าสภาพแวดล้อมเป็นพิษนั้นได้จบสิ้นไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่หลายฝ่ายยังไม่พร้อมทำใจยอมรับ

หลายฝ่ายโดยเฉพาะบรรดาเอ็นจีโอได้พยายามเสนอทางเลือกในเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียน” ทั้งพลังน้ำ พลังลม ขยะ แสงอาทิตย์ ที่แม้สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่มีความไม่แน่นอนเพราะผลิตไฟฟ้าได้เพียงวัันละ 5-6 ชม. แถมมีต้นทุนสูงราว 5-9 บาทต่อหน่วยทีเดียว ขณะที่ก๊าซธรรมชาติเอง ยังมีต้นทุนต่อหน่วยอยู่ที่ 3.20 บาท

สภาพการณ์เช่นนี้จึงทำให้ กฟผ. ในฐานะผู้จัดหาไฟฟ้าให้กับประเทศ ออกมาเสนอให้เลือกใช้ ’ถ่านหิน“ เป็นเชื้อเพลิงหลักเพราะมีต้นทุนต่ำและยังมีปริมาณสำรองเหลืออีกมาก และยังมี ’เทคโนโลยีสะอาด“ ที่กำจัดทั้งก๊าซซัลเฟอร์ฯ , ไนโตรเจนออกไซด์ และฝุ่นเถ้าขนาดเล็ก แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการตอบสนอง!

ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม… แต่จากการดูงานโรงไฟฟ้าของญี่ปุ่นทั้ง 3 แห่ง ทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “คาชิวาซากิ คาริวะ” ที่เมืองฟูกูชิมา ของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริค พาวเวอร์ หรือเทปโก ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิต 8,212 เมกะวัตต์ต่อปี หรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน “มัตซูอุระ” เมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิดที่มีการเทกองถ่านหินในพื้นที่เปิดโล่ง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน “อิโซโกะ” เมืองโยโกฮามา ที่สะอาดที่สุดในโลกโดยเป็นโรงไฟฟ้าแบบปิดที่จัดเก็บถ่านหินไว้ในไซโล ซึ่งบริหารโดย เจ พาวเวอร์ บริษัท พัฒนาพลังงานไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่น

กลับพบว่าชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับโรงไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เพราะมี “การบริหารจัดการที่ดี” ที่โรงไฟฟ้าแต่ละโรงต่างมีระบบของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความมั่นใจในเรื่องของสภาพแวดล้อมให้กับชุมชนรอบข้างและใกล้เคียงที่เป็นไปตามสัญญาและข้อกำหนดที่ทำร่วมกันระหว่างเทศบาล ชุมชนและโรงไฟฟ้า จึงทำให้เห็น “พื้นที่นาสีเขียว” อยู่รายล้อมรอบโรงไฟฟ้าอย่างดาษดื่น แถมยังมีโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในเมืองท่ามกลางชุมชนที่แน่นขนัด

ทั้งนี้โรงไฟฟ้าถ่านหิน “มัตซูอุระ” มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ายูนิตละ 1,000 เมกะวัตต์  2 ยูนิต รวม 2,000 ยูนิต ที่แม้จะใช้วิธีกองถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าไว้บนลานซีเมนต์ แต่ก็มีกระบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ,ไนโตรเจนออกไซด์ และฝุ่นขี้เถ้า replica breitling transocean ได้สูงกว่ามาตรฐานและข้อตกลง ด้วยประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 ยูนิตและวิธีการจัดการที่ดีที่ทำให้ชุมชนนางาซากิไว้เนื้อเชื่อใจ

ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน “อิโซโกะ” ที่สะอาดที่สุดในโลก มีขนาดกำลังการผลิต 1,200 เมกะวัตต์ ได้ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ที่ตอบรับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สามารถรวบรวมเขม่า ฝุ่น และกำจัดมลพิษได้มีประสิทธิภาพมากกว่า 99.94% และมีระบบบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิต ก่อนปล่อยออกสู่ทะเล ที่สำคัญตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่มีประชาชนอาศัยอยู่หลายแสนคน แต่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งยังนำรายได้จากองค์กรมาตั้งเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ทำให้สามารถอยู่กับชุมชนมานานกว่า 30 ปีโดยที่เทศบาลนครโยโกฮามาสามารถติดตามตรวจสอบข้อมูลได้ตลอด 24 ชม. จากระบบออนไลน์ ข้อมูลการผลิตไฟฟ้า และการปล่อยสารต่าง ๆ

ด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “คาชิวาซากิ คาริวะ” แม้เวลานี้ต้องหยุดเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่สั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศทั้ง 54 โรง ก็ได้จัดทำแผนป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดในอนาคตและอยู่ระหว่างการนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาตามข้อกำหนด โดยทุ่มงบประมาณไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านเยน ทั้งสร้างเขื่อนป้องกันน้ำสูง 15 เมตร ยาวกว่า 1 กม. การทำพนังกั้นน้ำ การเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยใช้รถเคลื่อนที่ การสร้างอ่างเก็บน้ำ รวมไปถึงเครื่องถ่ายเทความร้อนเผื่อกรณีสูญเสียแท่งระบายความร้อน เป็นต้น

หันกลับมาดูโรงไฟฟ้าเมืองไทย…กลับขาดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างชุมชนกับโรงไฟฟ้า ขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของรัฐบาล จึงไม่แปลกใจที่ผู้บริหารของ กฟผ.จะออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลหยิบยกพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมตัดสินว่าจะเลือกอะไรเป็นพลังงานหลักเพื่อให้การพัฒนาโรงไฟฟ้าเดินหน้าได้ ไม่ใช่ปล่อยให้ กฟผ.ต้องลุยเดี่ยวแก้ปัญหา

เพราะสุดท้ายแล้วคนที่รับกรรมไม่ใช่ กฟผ. แต่เป็นคนไทยทั้งประเทศที่ต้องใช้ไฟฟ้าแพง !!!.

แหล่งที่มา: http://www.dailynews.co.th







<< ย้อนกลับ >>
 

 
         
  © 2009 Patarapong Logistics Co., Ltd. All Rights Reserved. HomelServices & SafetylActivitieslNewslContact Us Created & Powered by FOD Team.